เอกบรมองค์ราชินี
เอกบรมองค์ราชินี
23/7/2561 / 1082 / สร้างโดย Web Admin

ณ มหามงคลสมัยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นโอกาสพิเศษยิ่งที่กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังจะได้แสดงกตเวทิตาคุณ "เอกองค์พระบรมราชินีนาถ” พระผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐของชาติประประชาชนชาวไทย ด้วยการจัดนิทรรศการบริเวณส่วนแรกของ "พิพิธบางลำพู” น้อมเกล้าน้อมกระหม่อนถวายเฉลิมพระเกียรติ เผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณให้ปรากฏแผ่ไพศาล

เป็นที่ประจักษ์ในพระราชกรณียกิจ "เอกองค์บรมราชินี” ว่าพระองค์ได้สนองพระมหากรุณาธิคุณพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชฐานนะ "สมเด็จพระบรมราชินีคู่พระบารมี” ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๓ สือมาถึงปัจจุบันโดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรทั่วทุกภูมิภาค เป็นการแบ่งเบาพระราชภาระ ขจัดปัณหาความเดือนร้อนและช่วยสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรือนนานาให้บังเกิดทั้งแก่ชาติบ้านเมืองและอาณาประชาราษฏร์ เคียงข้างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกหนแห่งตลอดเวลาอันยาวนานน้ำพระราชหฤทัยเมตตานั้นประดุจสายฝนฉ่ำค้ำจุนผู้ยากไร้ให้แซ่มชื่น อันรวมถึงสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งปวง จึงเป็นที่แซ่ช้อง สรรเสริญในพระเกียรติคุณกว้างไกลไป ทั้งในและนานาประเทศ ควรที่ชาวไทยทั้งหลายจะได้รับรู้ ด้วยชาวไทยนั้นโชคดี ที่ประเทศไทยมีทั้ง "พ่อแม่แผ่นดินที่ประเสร็ฐสุด” มีเอกองค์บรมราชินีคู่พระบารมี ดังที่รัฐบาลกำหนดวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันชาติไทย” และวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชนิชีนาถ วันที่ ๑๒ สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันแม่แห่งชาติ” โดยได้จัดงานเฉลิมฉลองน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นราชสักการะสือเนื่องตลอดมา


”เอกบรมองค์ราชินี”

คู่บารมีพระภูมินทร์
”คู่บารมีพระภูมินทร์”

ย้อนรำลึกถึงกาลเวลาแห่งความทรงจำ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพบสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ณ ประเทศฝรั่งเศษ ตราบถึงทุกวันนี้ เป็นเวลานานยาวนอนกว่า ๖๐ ปี ที่ทั้งสองพระองค์ทรงอยู่เคียง พระราชหฤทัยอย่างมั่งคง พระราชปฏิพัทธ์แห่ง พระมิ่งขวัญของชาวไทยตลอดมานี้ นอกจากจะนำความปลื้มปีติโสมนัส ความซาบซึ้ง มาสู่พสกนิกรทั้งหลายทั่วไปแล้ว ยังทรงเป็นแบบอย่างงดงาม ที่ต่างยึดถือจดจำไว้ในดวงใจและคงอยู่ในความทรงจำ ด้วยลำดับความดังนี้


”คู่บารมีพระภูมินทร์2”

พ.ศ. ๒๔๙๑ ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาอยู่ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปทอดพระเนตร การแสดงดนตรี ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ครั้งนั้น พลเอก พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อนเจ้า นักขัตรมงคล กิติยากร อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส พร้อมครอบครัว ต่างรอเฝ้าทูลละลองธุลีพระบาทรับเสด็จ ทั้งนี้ก่อนหน้าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่เสด็จพระราชดำเนินไปกรุงปารีส สมเด็จพระบรมราชชนนีมีรับสั่งให้ทอดพระเนตรหม่อนราชวงศ์สิริกิต์ กิติยากรพระธิดาองค์โตของอัครราชทูตไทยว่ามีจริยวัตรงดงามเพียงใด ครั้งเมื่อได้ทรงพบและเสด็จพระราชดำเนินกลับ ทรงถวายความเห็นสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า "เห็นแล้วน่ารักมาก”ที่กล่าวมานี้ คือ ครั้งแรกแห่งความประทับพระราชหฤทัย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อหม่อมราชวงศ์สิริติ์ กิติยากร


”คู่บารมีพระภูมินทร์3”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปกรุงปารีสหลายครั้ง หม่อมราชวงศ์สิริกิต์ กิติยากร มีโอกาส รับเสด็จ เป็นที่คุ้นเคยเบื้องพระยุคลบาท ด้วยมีความสนพระราชหฤทัยการดนตรีเหมือนกัน จึงทรงสนทนากันเกี่ยวกับเรื่องดนตรีด้านต่างๆ กล่าวไว้ว่า ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์ สิริกิต์ กิติยากร คือ สุภาพสตรีผู้เดียวที่รอบรู้การดนตรีแบบสากลอย่างกว้างขวางเป็นที่พอพระราชหฤทัย ประกอบด้วยพระจริยวัตรที่นุ่มนวลอ่อนน้อมแจ่มใสร่าเริง จึงกระชับความสำพันธ์ลึกซึ้งเพิ่มพูมขึ้นตามกาลเวลา


วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงพบพลเอก พระวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถมีพระราชดำรัสเรื่องการหมั้นหมาย วันรุ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระบรมราชนก พระราชทานให้สมเด็จพระบรมราชชนนีมาทรงหมั้นหม่อนราชวงศ์สิริกิต์ กิติยากร มีพระราชดำรัสว่า "เป็นแหวงที่มีค่าอย่างยิ่ง และเป็นของที่ระลึกด้วย” ในเดือน ถัดมา วันที่ ๑๒ สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศข่าวทรงหมั้นให้ชาวไทยรับรู้ และวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี ณ วังสระปทุม

บรมราชินีนาถแห่งแผ่นดิน

พระราชกรณีกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระราชฐานะคู่พระบารมีแห่งพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ด้วยพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะสนองพระราชปณิธานแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการช่วยให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้า และปวงชนชาวไทยร่มเย็นเป็นสุขคราใดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารถในเรื่องการช่วยเหลือราษฎร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จะทรงพระราชดำริริเริ่มงานนั้น ฯ ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งมีจุดหมายอยู่ที่ราษฎรผู้ทุกข์ยากทั้งหลายในชนบททั่วประเทศ


การช่วยเหลือให้ราษฎรมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นนั้น ต้องมีอาชีพที่มีรายได้เพียงพอเลี้ยงครอบครัว ด้วยแนวพระราชดำรินี้โครงการศิลปาชีพจึงเกิดขึ้น ในช่วงแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ใช้ชาวบ้านทอผ้าพื้นเมือง แล้วทรงรับซื้อไว้ และค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ การส่งเสริมอาชีพดำเนินไประยะหนึ่งจึงทรงก่อตั้งเป็นมูลนิธิ พระราชทาน ชื่อว่า "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ”

”คู่บารมีพระภูมินทร์4”

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรไปทั่วผืนแผ่นดินไทย ทำให้ทรงทราบถึงปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาทรัพยากรธรรมชาติจึงทรงพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อปลูงฝังให้ราษฎรร่วมกันรักษาและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งพระราชทานความรู้แก่ราษฎร เช่น โครงการป่ารักษ์น้ำ ที่เริ่มขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นโครงการอื่น ๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรมากมาย ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ


สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วยใยปัญหาของราษฎร ดังเช่นเหตุการณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ จังหวัดอ่างทองประสบปัญหาอุทกภัยอย่างหนัก ราษฎรได้รับความเดือดร้อน สมเด็จพราะยางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงติดตามข่าวด้วยความเป็นห่วง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดหาพื้นที่ที่หนองะหารจีน ตำบลบ้านอิฐ อำเภออ่างทอง เพื่อเป็นพื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่าง เช่นเดียวกับฟาร์มตัวอย่างที่เชียงใหม่และหลายจังหวัดทุกภูมิภาค ซึ่งฟาร์มตัวอย่างนี้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติ ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมครัวเรือน โดยทำให้ราษฎรที่ประสบอุทกภัย เข้ามาทำงาน เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวอย่างสมบูรณ์


”คู่บารมีพระภูมินทร์5”

โครงการในพระราชดำนิของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยังมีอีกมากมายหลายด้าน ครอบคลุมทั้ง การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สาธารณสุข การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการสร้างอาชีพ ล้วนช่วยคลายทุกข์ นำความสุขมาสู่อาณาประชาราษฎร์ สมดังที่ปวงชนชาวไทยยกย่องและเทิดทูนให้พระองค์ทรงเป็น "แม่ของแผ่นดิน”


สายพระเนตรความเป็นแม่ ทรงหยั่งเห็นสายเลือดศิลปินที่แฝงอยู่ในใจชาวไทย ทรงนำงานศิลปะจากทุกแหล่งชุมชนมาเป็น "งานศิลปาชีพ” ให้อาชีพแก่ราฏษรผู้ยากไร้ ทั้งงานทอ ถัก ปัก สาน เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องโลหะ งานปั้นหล่อ และสลัก ฯลฯ จึงเพื่องฟูขึ้นสู่สายตาของชาวโลก นอกจากยกฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น ยังเป็นการสืบสานสร้างสรรค์มรดกทางวัฒธรรมของชาติไว้อย่างยั่งยืน สมดังพระราชสมัญญา "อัคราภิรักษ์ศิลปิน” ซึ่งมีความหมายว่า ศิลปินยิ่งใหญ่ผู้ปกปักษ์รักษาศิลปะ คู่กับ "อัครศิลปิน” พระราชสมัญญาแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปิ่นองค์ขัตติยราช
”ปิ่นองค์ขัตติยราช”

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่อเสด็จพระราชสมภพทรงดำรงสกุลยศเป็นหม่อนราชวงศ์สิริกิต์ กิติยากร เป็นพระธิดาในพลเอก พระวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร พระนาม "สิริกิต์” นี้ พระราชทานเป็นมงคลนามที่มึความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร”


ขณะทรงพระเยาว์ เป็นช่วงเวลาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ภาวะบ้านเมืองไทยในยามสงครามนั้น มีทั้งความไม่ปลอดภัยและเศรษฐกิจฝืดเคืองในฐานนะที่ทรงเจริญอยู่ในพระราชสกุลเป็นครอบครัวทหาร พระบิดาทรงหล่อหลอมให้รู้จัก เข้าใจ และปรับตัวให้เข้ากับสภาพบ้านเมืองอย่างเข้มแข็ง ทรงได้รับการปลูกฝังให้มีระเบียบวินัย อดทน รู้จักพระองศ์ทรงพระเมตตาต่อผู้ยากไร้ และโปรดความมีระเบียบแบบแผนมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัย

”ปิ่นองค์ขัตติยราช2”

ในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่เจ้า ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริติ์ กิติยากร เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิต์ และต่อมาในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีสิริกิต์ ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินี ขณะพระชนมายุ ๑๗ พรรษา นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริติ์ พระบรมราชินี ทรงมุ่งมั่นดำรงในพระราชสถานะทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ แบ่งเบาพระราชภารกิจอันยิ่งใหญ่ ของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยอย่างมั่นคง


พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชศรัทธาเสด็จออกทรงพระผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จรราชการและบำเพ็ญพระราชกรณีกิจทั้งหลายให้ลุล่วงตราบกระทั่งวันที่พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลาสิกขาบทได้อย่างเรียบร้อยบริบูรณ์ จึงมีพระบรมราชโองการสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

”ปิ่นองค์ขัตติยราช3”

พระราชสถานะที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คือ การเป็นสมเด็จพระราชชนนีของพระราชโอรสและพระราชธิดา เมื่อมีการกระทำความผิด จะทรงตักเตือนดังเช่นพ่อแม่ทั่วไป ทรงดูแลพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยพระองศ์เอง ดังปรากฏ พระราชดำรัสว่า "โปรดที่จะเป็นแม่มากที่สุด” สิ่งสำคัญอย่างมที่สุด คือ ทรงปลูกจิตสำนึกความรักชาติลงไว้ในดวงพระราชหฤทัยอย่างแนบแน่น ทรงอบรมให้ทุกพระองศ์ทรงมีความสำนึกในหน้าที่ต่อชาติบ้านเมืองและประชาชน ทรงอุทิศพระองศ์เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติให้มากที่สุด ให้เห็นความทุกข์ของราษฏรอยู่เหนือความสุขส่วนพระองศ์ นอกจากนั้นให้ทรงตระหนักว่า การเรียนรู้ภาษาไทยโดยเฉพาะวรรณคดีไทย จำเป็นต้องอ่าน เพราะวรรณคดี คือ ภาษาไทย ที่ต้องอ่านเนื่องจากเป็นรากเหง้าแห่งวัฒนธรรม และแนะนำว่าทุกคนควร อ่านหนังสือทุกประเภท เพราะหนังสือคือประทีบแห่งความรู้


ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง line
ป้อมเขตขัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
23/7/2561 / 2210
ป้อมเขตขัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ป้อมเขตขัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ป้อ..
นิทรรศการกรมธนารักษ์
22/7/2561 / 1222
กรมธนารักษ์ มีหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของแผ่นดิน ถือกำเนิดอย่างเ..
นิทรรศการชุมชนบางลำพู
21/7/2561 / 1674
บางลำพูประกอบไปด้วยย่านการค้าและแหล่งชุมชนเก่าแก่ ๗ ชุมชน ได้แก่ ชุมช..