นิทรรศการกรมธนารักษ์
นิทรรศการกรมธนารักษ์
22/7/2561 / 1209 / สร้างโดย Web Admin

เมื่อสงครามสงบลง บ้านเมืองเจริญขึ้น ความจำเป็นต้องมีกำแพงเมืองและป้อมปราการจึงลดน้อยลง ในขณะที่ความจำเป็นต้องขยายพื้นที่อยู่อาศัยให้เพียงพอกับจำนวนประชากรนั้นเพิ่มขึ้นมาก ป้อมและกำแพงเมืองต่างๆ จึงถูกรื้อทิ้ง ป้อมพระสุเมรุแม้จะไม่ถูกรื้อเหมือนป้อมอื่น แต่ขาดการดูแลรักษาจนทำให้ฐานล่างทรุดลงไปมาก เมื่อปี พ.ศ. 2542 ได้มีการฟื้นฟูเกาะรัตนโกสินทร์ ป้อมพระสุเมรุจึงได้รับการซ่อมแซมจนกลับมามีสภาพดังเดิม นอกจากนั้นพื้นที่โดยรอบป้อมพระสุเมรุ ซึ่งเป็นจุดที่เคยมีต้นลำพูขึ้นอยู่ยังถูกปรับปรุงสร้างเป็นสวนสาธารณะ "สวนสันติชัยปราการ” ถือเป็นสถานที่พักผ่อนของประชาชนทั่วไป

นิทรรศการกรมธนารักษ์

 

พระคลังมหาสมบัติ


พระคลังมหาสมบัติ

จากอดีตถึงปัจจุบัน กรมธนารักษ์ได้ปรับตัวและพัฒนางานในความรับผิดชอบไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงทางสัมคมและเศรษฐกิจ อยู่เคียงคู่สังคมไทยมากว่า 80 ปี ทั้งทำงานบนรอยต่อของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับระบอบประชาธิปไตย ปรับตัวเมื่อครั้งประเทศเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ปรับเพิ่มหน้าที่รับผิดชอบในสมัยปฎิรูประบบราชการ จนพัฒนาจากหน่วยงานที่เรียบง่าย สู่องค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ทันสมัย ปัจจุบันกรมธนารักษ์ ยังคงสืบสานและพัฒนางานในความรับผิดชอบที่มีความแตกต่าง กันถึง 4 ด้าน คือ บทบาทในด้านการผลิตเหรียญกษาปณ์และการนำออกใช้ในระบบเศรษฐกิจให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด บทบาทในการดูแลรักษาทรัพย์สินตามหลักการอนุรักษ์เพื่อธำรงรักษาไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้ยาวนานสืบไป พร้อมทั้งนำออกจัดแสดงเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย บทบาทในการประเมินราคาทรัพย์สินให้ได้มาตรฐานสากลครอบคลุมทั้งประเทศรวมทั้งบทบาทหน้าที่ ในการบริหารการใช้ที่ราชพัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

ธรรมาภิบาลอารักษ์พันธกิจกรมธนารักษ์


ธรรมาพิบาลอารักษ์พันธกิจกรมธนารักษ์

การจัดนิทรรศการในส่วมบทบาทภารกิจของกรมธนารักษ์ มุ่งให้ประชาชนได้เรียนรู้ความเป็นมาและเข้าใจการทำงานด้านการบริหารทรัพย์สินภาครัฐเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม อันเป็นไปตามระเบียบ มีชั้นตอนชัดเจน การออกแบบนิทรรศการจึงเลือกใช้พื้นที่บริเวณอาคารปูน เพื่อสื่อถึงความเป็นหน่วยงานที่มีความเข้มแข็ง มั่นคง ทันสมัย

และมีความเป็นมืออาชีพในการดำเนินการ อิ่มเอมไปกับความรู้ เข้าใจในภารกิจของกรมธนารักษ์ซึ่งมิใช่เรื่องห่างไกล แต่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คน โดยเกริ่นนำถึงภารกิจทั้ง 4 ด้านในนิทรรศการห้องพระคลังมหาสมบัติ บนบานหน้าต่างจำลองตามรูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารทำการกรมธนารักษ์แห่งแรก ซึ่งตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังเพื่อสร้างบรรยากาศย้อนอดีตและรำลึกถึงความเป็นมาและการทำงานของกรมธนารักษ์ที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน

 

เบิกโรงกษาปณ์ ตามรอยเงินตรา


เบิกโรงกษาปณ์ ตามรอยเงินตรา

เงินตรา คือ สิ่งที่มนุษย์ที่มีอารยธรรมสูงคิดค้นขึ้นมา เพื่อให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือค้าขายแต่โบราณมาการค้าขายจะทำโดยการแลกเปลี่ยนสินค้าที่ตนมีกับสินค้าที่ตนไม่มี ต่อมาเมื่อแต่ละท้องถิ่นมีความเจริญมากชึ้นสามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายชนิดรวมถึงสินค้าที่ตนไม่เคยมี การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้าจึงไม่สะดวก เฉพาะสินค้าเริ่มไม่ตรงกับความต้องการของอีกฝ่าย จึงเริ่มมีการกำหนดสื่อกลางขึ้นมาเพื่อใช้แลกสินค้าหรือสิ่งของต่างๆ ความต้องการ จากผ้าไหม ไข่มุก เปลือกหอย เงินและทอง จนพัฒนาเป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และบัตร เครดิตในปัจจุบัน

ประเทศไทยเริ่มการปรับเปลี่ยนเงินตราแบบเดิม ให้เป็นแบบสากล ในปี พ.ศ. 2403 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่เจ้า รัชกาล ที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ปรับปรุงเงินตราจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญกลมแบนตามแบบสากล โดยทรงให้สร้างโรงทำเงินขึ้นในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานว่า "โรงกระสาปน์สิทธ์การ” มีการติดตั้งเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์ขับเคลื่อนด้วยแรงดันไอน้ำเป็นเครื่องแรกต่อมาเมื่อเศรษฐกิจของประเทศเจริญโตขึ้น จึงมีการสร้างโรงกษาปณ์แห่งให่เพื่อผลิตเหรียญให้เพียงพอกับความต้องการใช้ ควบคู่ไปกับพัฒนาระบบรักษาและกระจายเหรียญกษาปณ์ รองรับการขยายตัวเศรษฐกิจ

เบิกโรงกษาปณ์ ตามรอยเงินตรา2

แม้ระบบเศรษฐกิจจะมีความเจริญเติบโต หรือเงินตราที่ใช้ซื้อขายสินค้าจะถูกพัฒนาให้ทันสมัยเพียงใดแต่เหรียญกษาปณ์ซึ่งเป็นเงินย่อยที่มีชนิดราคาต่ำที่สุด ก็ยังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจอยู่ไม่เลื่อมคลายกรมธนารักษ์ในฐานะหน่วยงานรัฐผู้มีหน้าที่ผลิตและกระจาย เหรียญกษาปณ์ จึงพัฒนาการทำงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นหน่วยงานเฉพาะที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตเหรียญที่มี คุณภาพ สวยงามและยากต่อการปลอมแปลง เป็นหน่วยงานที่สามารถบริหารจัดการ นำเหรียญกษาปณ์ออกสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยน นำไปซื้อขายสินค้าและบริการตามความต้องการ นิทรรศการภารกิจของกรมธนารักษ์ จึงจัดแสดงข้อมูลเชิงสถิติการใช้เหรียญ และติดตั้งเครื่องใช้หยอดเหรียญแบบต่างๆ ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ในห้องเบิกโรงกษาปณ์ตามรอยเงินตราเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจความสำคัญของการผลิตเหรียญกษาปณ์จำนวนมหาศาล

เบิกโรงกษาปณ์ ตามรอยเงินตรา3

กรมธนารักษ์เน้นย้ำและอธิบายความสำคัญของการผลิตเหรียญกษาปณ์ โดยเลือกใช้แนวคิดโรงผลิตเหรียญกษาปณ์มาเป็นแกนหลัก ใช้มาสคอตเปรียบเป็นตัวพนักงานในโรงกษาปณ์มาสาธิตวิธีการผลิตเหรียญให้เข้าใจง่าย และเนื่องจากเล็งเห็นว่าเหรียญเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวมนุษย์ที่สุด แม้แต่เด็กเล็ก ๆ ก็ยังรู้จักใช้เหรียญ จึงวางคาแรกเตอร์ของมาสคอตให้เป็นตัวการ์ตูนที่มีความน่ารัก เข้าถึงผู้ชมได้ทุกวัย ใช้ลัญลักษณ์ของโรงกษาปณ์ คือ "นกวายุภักษ์” มาสวมบทเป็นพนักงานโรงกษาปณ์ แก่ออกแบบให้สามารถจินตนาการเป็นสัตว์ชนิดอื่นได้

ในปัจจุบันนอกการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนแล้ว กรมธนารักษ์ยังผลิตเหรียญที่ระลึกในโอกาสสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ ผลิตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญที่ระลึก เครื่องหมายตอบแทน และของสั่งจ้างตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโรงกษาปณ์สำหรับภารกิจด้านการบริหารเงินตรา อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารเงินตรา ในการจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์สู่มือของประชาชน และหน่อยงานต่าง ๆ โดยในส่วนภูมิภาคมีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ขึ้น 6 ศูนย์ในจังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ สุราษฏร์ธานี และสงขลา เพื่อให้การกระจายเหรียญกษาปณ์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด


เพื่อราษฎร์และที่ราชพัสดุและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์


เพื่อราษฎร์และที่ราชพัสดุและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์

ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน คือ เครื่องราชูปโภคและ เครื่องราชภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการชั้นสูง ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน

ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน คือ เครื่องราชูปโภคและเครื่องราชภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการชั้นสูง ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ยังรวมถึงทรัพย์สินประกอบเครื่องประดับ เงินตราไทยในยุคต่างๆ และทรัพย์สินเบ็ดเตล็ดซึ่งแต่เดิมการดูแลเก็บรักษาทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินเป็นหน้าที่ "กรมเก็บ” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และได้เปลี่ยนเป็น "กรมพระคลังมหาสมบัติ” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินอยู่ในความดูแลของสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน

เพื่อราษฎร์และที่ราชพัสดุและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์2

การดูแลรักษาทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินให้คงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์สวยงามนั้น ต้องดำเนินการตามหลักการอนุรักษ์และอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติงาน โดยเริ่มจากการคัดแยกทรัพย์สินให้เป็นหมวดหมู่และจัดทำทะเบียนประวัติของทรัพย์แต่ละชิ้น เพื่อความสะดวกในการดูแลเก็บรักษาและควบคุมตรวจสอบ จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการอนุรักษ์ซึ่งมีผลในเชิงป้องกันและการสงวนรักษา โดยดำเนินการตามหลักวิชาการที่ต้องใช้ความรู้เชิงช่างศิลปกรรมโบราณผสมผสานกับวิทยากรสมัยใหม่ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสมบูรณ์สวยงามตามรูปแบบศิลปะดั้งเดิม

ทรัพย์สินที่ดำเนินการอนุรักษ์เรียบร้อยแล้วได้บรรจุไว่ในกล่องหรือภาชนะที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้มีขนาดและรูปทรงเหมาะสมกับทรัพย์สินแต่ละชิ้น โดยใช้วัสดุพิเศษที่ไม่มีค่าความเป็นกรด - ด่าง จากนั้นจึงนำเก็บรักษาในห้องมั่งคงที่มีระบบป้องกันความปลอดภัยและระบบควบคุมอุณหภูมิความชื้น เพื่อป้องกันความเสื่อมสภาพและถนอม รักษาทรัพย์ให้ธำรงอยู่ได้ยาวนานสืบไป

เพื่อราษฎร์และที่ราชพัสดุและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์3

กรมธนารักษ์ภาคภูมิใจและตระหนักในคุณค่าของทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน และต้องการเผยแพร์ให้เป็นที่รับรู้อย่างแพร่หลาย จึงได้คัดเลือกทรัพย์สินที่มีค่าของแผ่นดิน  จัดแสดงในภาคเหนือที่ ศาลาธนารักษ์ 1 จังหวัด เชียงใหม่ และจัดแสดงในภาคใต้ที่ศาลาธนารักษ์ 2 จังหวัดสงขลา นอกจากนี้ยังได้เผยแพรข้อมูลความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบ ของเอกสาร แผ่นพับ การจัดนิทรรศการนอกสถานที่ทั้ง

ในปี พ.ศ. 2556 ได้ขยายงานการจัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โดยจัดตั้ง "พิพิธภันฑ์เหรียญ” บนพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งกรมธนารักษ์ ซึ่งอยู่ใกล้วัดชนะสงครามเพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับนักสะสมเหรียญ เยาวชนและผู้สนใจการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์ ด้วยตระหนักว่า เงินตราในแต่ละยุคสมัยเปรียบเหมือนบันทึกทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่สะท้อนวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนในสังคมและอาณาจักรต่าง ๆ แล้วยังได้รวบรวมเหรียญกษาปณ์จากต่างประเทศ ทั่วทุกทวีปแสดงไว้ ณ "พิพิธภัณฑ์เหรียญ” แห่งนี้ด้วย

นอกจากนี้ เมื่อกรมธนารักษ์ได้ปรับปรุงและพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณที่เคยเป็นโรงพิมพ์คุรุสภามาก่อน เพื่อจัดตั้ง "พิพิธบางลำพู” เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนบางลำพูสำนักทรัพย์สินค่าของแผ่นดิน ได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินมาร่วมเผยแพร่ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้มีโอกาศชื่นชม ศึกษาเรียนรู้ และร่วมภาคภูมิใจในทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และจุดประกายในการร่วมกันธำรงรักษาทรัพย์แผ่นดิน ให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมได้ยืนยาวสืบไป

เพื่อราษฎร์และที่ราชพัสดุและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์4

"ที่ดิน” เป็นทรัพยากรสำคัญในการดำรงชีวิตและการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัด ประเทศไทยแบ่งการถือครองที่ดินแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ดินของเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในด้านที่อยู่อาศัย เกษตรกรรม การพาณิชย์ ต่าง ๆ กลุ่มที่ดินของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า ที่สาธารณประโยชน์ ที่ราชพัสดุ ซึ่งจะใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และกลุ่มสุดท้าย ได้แก่ ที่ดินที่ไม่ได้อยู่ในสองกลุ่มดังกล่าว เช่น ที่วัด ที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นต้น

"ที่ราชพัสดุ” มีมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาสิทธิราชย์ เดิมเรียกว่า "ที่ดินของหลวง” ดังปรากฏในพระราชบัญญัติกรมราชพัสดุ รัตนโกสินทร์ศก 109 หรือ พ.ศ. 2434 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงเห็นตามที่เสนอให้รวบรวมที่ดินของหลวงซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกกรม กระทรวงมาขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงพระคลัง ฯ ได้กำหนดนิยามคำว่า "ที่ราชพัสดุ” หมายถึงอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด ยกเว้นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฏหมายที่ดิน อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวงทะเลสาบ โดยไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล และขององค์กรการปกครองท้องถิ่น และที่มีกฏหมายบัญญัติว่าไม่เป็นที่ราชพัสดุ ซึ่งปัจจุบันมีที่ดินราชพัสดุอยู่ทั่วประเทศกว่า 12 ล้านไร่

เพื่อราษฎร์และที่ราชพัสดุและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์5

กรมธนารักษ์มีหน้าที่ในการบริหารจัดการที่ราชพัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงมีแนวทางในการบริหารที่ราชพัสดุ 4 แนวทาง ได้แก่ (1) ใช้ในราชการ เป็นสถานที่ตั้งสำนักงานราชการเพื่อการให้บริการประชาชน ซึ่งในขณะเดียวกันเป็นการลดต้นทุนภาครัฐ ถือเป็นแนวทางหลักซึ่ง เป็นการใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 99 (2) เพื่อการจัดหาประโยขน์ในรูปแบบ ต่าง ๆ ในเชิงพาณิชย์สำหรับพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมจะใช้ในราชการ (3) เพื่อประโยชน์ทางสังคม สาธารณประโยชน์และสิ่งแวดล้อม เช่น ความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การเคหะแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรชุมชน) ในการพัฒนาที่ดินชุมชนแออัดให้เป็นที่อยู่อาศัย ที่ทำกินอย่างมั่นคง (4) สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ ในการดำเนินการของกรมธนารักษ์ได้พยามยามหารูปแบบในการดำเนินการใหม่ ฯ ผสมผสานให้เกิดความลงตัวเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นจำนวนเงิน จนเกิดเป็นการพัฒนาในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economic) โดยมองความร่วมมือของภาคประชาชนในพื้นที่ คุณค่าประวัติศาสตร์ของประเทศประกอบการพิจารณา ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ คือ "พิพิธบางลำพู” ที่สามารถพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

เพื่อราษฎร์และที่ราชพัสดุและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์6

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการบริหารจัดการ ที่ราชพัสดุที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือ การที่กรมธนารักษ์ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย จึงนำที่ราชพัสดุที่เหมาะสมไปสนับสนุนโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เช่น โครงการแก้มลิง เพื่อรองรับการขาดแคลนน้ำหรือปัญหา น้ำท่วม โครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัย พัฒนาและ สาธารณรัฐประชาชนจีน ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ด้วยความต้องการที่จะให้ผู้ชมเข้าใจการบริหารงาน ด้านที่ราชพัสดุที่กล่าวมาได้โดยง่าย ส่วนนิทรรศการ "ห้องเพื่อราษฎร์และรัฐ” จึงนำเครื่องมือการทำงานที่ใช้อยู่เป็นประจำมาจัดแสดง และยกตัวอย่างพื้นที่เขตอโศกและคลองต้นของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ มีความสำคัญในทุกมิติ ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างครบถ้วน มาจัดแสดงเป็นโมเดล เพื่อเล่าเรื่องความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในอดีตนับแต่ พ.ศ. 2497 เป็นต้นมาถึงปัจจุบันควบคู่ไปกับราคาประเมินที่ดิน

เพื่อราษฎร์และที่ราชพัสดุและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์7

การประเมินราคาเป็นเรื่องที่คนทั่วไปกระทำอยู่ทุกวัน โดยไม่รู้ตัว เช่น การตั้งและต่อรองราคาสินค้าให้เหมาะสมกับคุณภาพ ผู้ต่อรองราคาจึงต้องรู้ข้อมูลของสินค้านั้น ๆ เพื่อกำหนดมูลค่าที่เหมาะสม ในระดับประเทศ การประเมินราคาทรัพย์สินมีความสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมเป็นอย่างมาก มูลค่าที่เหมาะสมจะทำให้ประชาชนเจ้าของทรัพย์สินค้าวางแผนใช้งานทรัพย์สินนั้นอย่างคุ้มค่าเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน และเป็นประโยชน์ต่อรัฐในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นและประเทศ การประเมินราคาทรัพย์สินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาชีพและเป็นมาตรฐานสากลจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม เนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องรู้ถึงมูลค่าที่เหมาะสมของทรัพย์สินนั้น ไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับความยุติธรรมและความพึงพอใจ

การประเมินราคาทรัพย์สินอย่างเป็นทางการเริ่มปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จากการจัดภาษีเงินค่านา โดยการประเมินผลผลิตของที่นาต่อปี ต่อมาได้มีการกำหนดวิธีการประเมินราคาเฉพาะที่ดินในประมวลรัษฏากร พ.ศ. 2482 โดยตีราคาปานกลางของที่ดินแต่ละตำบลเพื่อเรียกเก็บเงินช่วยบำรุงท้องที่ และได้พัฒนาเป็นพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ของหน่วยงานท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน

เพื่อราษฎร์และที่ราชพัสดุและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์8

ภายใต้คำแนะนำด้านการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของธนาคารโลก รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการประเมินราคาจึงได้จัดตั้งฝ่ายกำหนดราคาที่ดินและโรงเรือนขึ้นในปี พ.ศ. 2524 โดยเป็นหน่วยงานภายในกองวิชาการ สังกัดกรมที่เดิน กระทรวงมหาดไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 จึงได้มีพระราชกฤษฏีกาแบ่งส่วนราชการกำหนดให้มีฐานนะเป็นกองให้ชื่อว่า สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน มีหน้าที่รับผิดชอบการประเมินราคาที่ดิน โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างและห้องชุด เพื่อประโชยน์ในการจัดเก็บภาษี อากร และ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ต่อมา ปี พ.ศ. 2543 ยกฐานนะเป็นสำนักประเมินราคาทรัพย์สินและปี พ.ศ. 2545 ได้ถ่ายโอนภารกิจมาสังกัดกรมธนารักษ์กระทรวงการคลัง

สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน มีหน้าที่ดำเนินการกำหนดราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นตามกฏหมาย เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาในการกำหนดราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฏหมายที่ดิน ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานการประเมินราคาของอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นที่เกี่ยวข้องหรือทีได้รับมอบหมาย เพื่อใช้ในการคำนวนภาษีเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฏหมายที่ดิน

การทำงานของสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน ดำเนินการอย่างมีขั้นตอนชัดเจน ตามระเบียบของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเพื่อให้ได้ราคาประเมินที่เหมาะสม เป็นธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อรัฐและเอกชน โดยกระบวนการประเมินราคาที่ดินเริ่มจากหาตำแหน่งที่ตั้งแปลงที่ดินในแผนที่พร้อมทั้งเตรียมข้อมูลทะเบียนที่ดิน และข้อมูลราคาซื้อขายจดทะเบียนที่ดินในพื้นที่ จากนั้นก็ลงพื้นที่จริงสำรวจสภาพแปลงที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง การใช้ประโยชน์ สภาพแวดล้อม โดยรวม เช่น ทางเข้าออก สภาพถนน ผังจราจร สถานที่สำคัญ เช่น สถานีรถไฟฟ้า ตลาด ห้างสรรพสินค้า โรงเรียนตลอดจนตรวจสอบข้อมูลราคาซื้อขายในท้องตลาด เมื่อได้ข้อมูลทุกอย่างครบแล้ว ก็นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อประเมินราคาที่ดิน โดยเปรียบเทียบกับแปลงที่ดินที่มีราคาตลาด จะทำให้เราทราบถึงมูลค่าของที่ดินแปลงที่ประเมินราคา ต่อจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการเสนอคณะอนุกรรมการประจำจังหวัดกำหนดราคา และขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ปัจจุบัน ประกาศใช้ระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2558 และจะประกาศใช้บัญชี ฯ ใหม่ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

การดำเนินการประเมินราคาทรัพย์สินทั่วทั้งประเทศของกรมธนารักษ์ โดยพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงของราคาซื้อขายทรัพย์สินที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา กลายมาเป็นแนวทางการออกแบบนิทรรศการให้ทันสมัย จัดแสดงผ่านจอทัชสรีนซึ่งเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลราคาประเมินทุก ๔ ปี บนเว็บไซต์ของสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน สื่อถึงความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลเพียงปลายนิ้วสัมผัสผ่านเทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน รวมทั้งยังจัดแสดงวิธีทัศน์อธิบายวิธีการประเมินราคาทรัพย์สิน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าการทำงานของสำนักประเมินราคาทรัพย์สินนั้น มีขั้นตอนที่แน่นอนได้มาตรฐาน และมิใช่เป็นเรื่องไกลตัวแต่อย่างใด

เพื่อราษฎร์และที่ราชพัสดุและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์10

หากประชาชนต้องการทราบราคาประเมินที่ดิน เพื่อการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เช่น ต้องการซื้อที่ดินแปลงใด แปลงหนึ่ง และอยากรู้ราคาที่เหมาะสม สมมารถนำสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาบัตรประชาชน และใบบอมอำนาจกรณีไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน มายื่นคำร้องกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงที่ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ทั่วประเทศ

การประเมินราคาที่ดินมี 2 แบบ คือ แบบรายบล็อก และรายแปลง

รายบล็อก คือ ประการเมินราคาที่ดินแบบเป็นกลุ่มตามแนวถนน ซอย

รายแปลง คือ ประเมินราคาที่ดินแต่ละแปลงเป็นราคา ต่าตารางวา จัดหวัดที่เป็นรายแปลงทั้งจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ นครนายก และ อ่างทอง และเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2559 จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงสราม ภูเก็ต ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ปทุมธานี พิจิตร อุทัยธานี แม่ฮ่องสอน และบึงกาฬ

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง line
ป้อมเขตขัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
23/7/2561 / 2190
ป้อมเขตขัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ป้อมเขตขัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ป้อ..
นิทรรศการชุมชนบางลำพู
21/7/2561 / 1656
บางลำพูประกอบไปด้วยย่านการค้าและแหล่งชุมชนเก่าแก่ ๗ ชุมชน ได้แก่ ชุมช..
แรกมีสิ่งพิมพ์ในสยาม
10/5/2561 / 723
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการเปิดเป็นโรงเรียนช่างพิมพ์วัดส..