นิทรรศการชุมชนบางลำพู
นิทรรศการชุมชนบางลำพู
21/7/2561 / 1656 / สร้างโดย Web Admin

บางลำพูประกอบไปด้วยย่านการค้าและแหล่งชุมชนเก่าแก่ 7 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านพานถม ชุนชนมัสยิดจักรพงษ์ ชุมชนวัดใหม่อมตรส ชุนชนบวรรังษี ชุมชนวัดสังเวชวิศยาราม ชุมชนตรอกเขียนนิวาสน์-ตรอกไก่แจ้ และชุมชนสามพระยา ซึ่งผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ยังคงสืบสานมรดกทางวัฒธรรมที่สืบทอดกันมากรุ่นสู่รุ่น


นิทรรศการชุมชนบางลำพู


สีสันบางลำพู


สีสันบางลำพู

ความงดงามของภูมิประเทศที่ร่มรื่นด้วยเงาไม้ลำพูยาม กลางวันและระยิบระยับด้วยแสงหิ่งห้อยยามราตรีเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้คนเรียกขานย่านนี้ว่า "บางลำพู” ย้อนอดีตไปเมื่อแรกย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมายัง ฝั่งบางกอก มีการระดมแรงงานชาวเขมรนับหมื่นคนขุดคลองครั้งมโหฬาร เพื่อขยายพื้นที่เขตพระนครให้กว้างขวางขึ้นตั้งแต่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตรงหน้าวัดสามปลื้มซึ่งล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามว่า "คลองรอบกรุง”


สีสันบางลำพู2

พระนครที่เต็มไปด้วยคูคลอง ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินต่างเข้ามาจับจองที่ทางตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ก่อตัวเป็นชุมชนหนาแน่นมีการค้าขายคึกคักตามริมคลอง เส้นทางน้ำสายนี้ขวักไขว่ ไปด้วยเรือนานาชนิด ทั้งเรือประทุน เรือกำปั่น และสินค้าหลากหลายจากเรือกสวนไร่นา บริเวณโดยรอบนับตั้งแต่วัดชนะสงครามถึงกำแพงพระนครด้านคลองลำพู เป็นที่อยู่ของข้าราชการและขุนนางฝ่ายวังหน้า มีตลาดเล็กๆอยู่กลางย่าน เรียกว่า ตลาดยอด หรือตลาดบางลำพู อีกทั้งยังเป็นชุมชนของข้าราชบริพาร ข้าราชการ ช่างฝืมือ และศิลปินที่รับใช้ขุนมูลนาย คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งแขกมลายูที่อยู่รอบสุเหร่าวัดตองปุ หรือมัสยิดจักพงษ์เป็นหมู่บ้านช่างทอง มอญรามัญที่อยู่รอบวัดชนะสงครามชาวจีนจากโพ้นทะเลที่มาค้าขาย ก็เข้ามาอาศัยอยู่รายรอบทั่วผ่านบางลำพู



พระนครเซ็นเตอร์


พระนครเซ็นเตอร์

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ สยามเริ่มทำการค้ากับนานาชาติมากชึ้น เกิดถนนหลายสายแม้ตามตรอกซอยเล็ก ๆ และดึกแถวใจกลางพระนคร มีการถมคลอง และเปลี่ยนมาตัดถนนหนทางให้ยืนยาวออกไปแทน เปลี่ยนวิถีชีวิตจากริมน้ำและเรือนไม้กลายเป็นริมถนนและตึกแถว


พระนครเซ็นเตอร์2

วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2412 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นที่โรงทำขนมจีนถนนสิบสามห้าง ลุกลามข้ามกำแพงพระนครไหม้เลียบกำแพงริมคลองบางลำพูไปถึงสะพานข้ามคลองหลังจากไฟไหม้ครั้งนั้นทำให้เกิดความการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของชุมชนบริเวณดังกล่าวเป็นอันมาก มีการสร้างสะพานขึ้นมาใหม่ทำเป็นหลักเหล็กโค้งเหนือสะพานใช้ชื่อว่า "สะพานนรรัตน์สถาน”

เพราะอยู่ติดกับบ้านพระยารัตนาราชมานิต (โต มานิตยกุล) ชาวบ้านเรียกว่า "สะพานโค้ง” บ้างก็เรียก "ประตูใหม่” ชุมชนและตลาดได้รับการปรับปรุงให้เป็นระบบระเบียบ มีการคมนาคมที่สะดวกสบาย มีรถรางรอบเมืองตั้งต้นที่บางลำพูใกล้ประตูเมือง มาตามถนนพระสุเมรุ เลี้ยวซ้ายวัดบวรนิเวศวิหาร ตามถนนตะนาว เช้าเสาชิงช้า และไปสุดทางที่เชิงสะพานเจริญสวัสดิ้ (คลองผดุงกรุงเกษม) ชาวบ้านเรียกขานรถรางสายนี้ว่าเป็นสาย "บางลำพู ประตูขาด ตลาดยอด ” และด้วยความที่สัญจรไปมาสะดวกนี้เองทำให้บางลำพูคึกคัก ไปด้วยผู้คน พร้อม ๆ กับเป็นที่รวบรวมความมันเทิงไว้ทั้งดนตรีไทน ละครร้องแม่บุญนาค โรงลิเกหอมหวล โรงหนังบุศยพรรณ มีการประชันกันอย่างคึกคักสนุกสนานและค่อย ๆ พัฒนาไปตามยุคสมัย เป็นศูนย์รวมมหรสพแหล่งใหญ่ใจกลางพระนคร ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 7 มีการบ่งกลุ่มย่านการค้าไว้อย่างชัดเจน โดยเยาวราชถือเป็นย่านการค้าของชาวจีน พาหุรัดเป็นแหล่งค้าขายของแขกอินเดียส่วนบางลำพูนั้นจัดให้เป็นย่านค้าขายของคนไทย

 



เบาะแสจากริมคลอง


เบาะแสจากริมคลอง

เนื่องด้วยย่านบางลำพูอยู่ใกล้เขตวังหลวง บริเวณโดยรอบจึงเป็นเขตที่พักอาศัยของ ข้าราชการบริพาร ข้าราชการ และช่างฝีมือหลากหลาย สาขา ซึ่งภูมิปัญญาและหัตถกรรมของ กลุ่มช่างฝืมือนี้ ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนกระทั่งปัจจุบัน



ย่ำตรอกบอกเรื่องเก่า


ย่ำตรอกบอกเรื่องเล่า

ย้อนอดีตสู่ต้นรัตนโกสินทร์ ช่างฝีมือสองสาขา ได้แก่ ช่างทำเครื่องเงินและช่างทำเครื่องถม ได้รวมกลุ่มตั้งภูมิสำเนาอยู่ร่วมกัน ณ ถนนพระสุเมรุ จากมรดกทางภูมิปัญญหา สู่งาน หัตถกรรมที่ต้องอาศัยฝีมือชั้นสูง ความอดทนผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลวดลายให้มีความวิจิตรอ่อนช้อย จึงทำให้เครื่องถมเป็นเครื่องใช้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในชนชั้นสูงสมัยก่อน ปัจจุบันอาชีพทรงคุณค่าของชุมชนแห่งนี้ ค่อย ๆ เลือนหายไปตามยุคสมัย หลงเหลือเพียง "ร้านเครื่องถมไทย” เป็นที่รู้จักในฐานะประณีตศิลป์ชั้นสูง ของไทยต่อไป


ย่ำตรอกบอกเรื่องเล่า2


ละแวกมัสยิดจักรพงษ์อันเงียบสงบ เป็นแหล่งกำเนิด "ช่างทอง” ผู้สรรค์สร้าง เครื่องถนิมพิมพาภรณ์จากทองดำด้วยฝีมืออันประณีตวิจิตรแบบและลวดลายที่อ่อน ช้อยสวยงามทำให้ชื่อเสียงของช่างทองตรอกสุเหร่าแห่งนี้เลื่ยงสือไปทั่ว

ศิลปะการทำทองถูกส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้ามาก ขึ้นจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำเครื่องทองของชุมชน การเข้ามาของวิทยากร และกรรมวิธีแบบใหม่ในการผลิตเครื่องประดับแบบตะวันตกความรวดเร็วของการผลิตที ่ก้าวล้ำความประณีตและความละเอียดลออในฝืมือ ทำให้อาชีพช่างทองลดน้อย ลงอย่างน่าใจหาย เหลือเพียงตำนสนเล่าขาน และชื่อเสียงของช่างทองคนสุดท้ายตรอกสุเหร่า "เล็ก ลอประยูร” ให้เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวลำพู


ย่ำตรอกบอกเรื่องเล่า3

เป็นหนึ่งในงานช่างสิบหมู่ประเภท งานเครื่องสด ใช้สำหรับการประดับตกแต่งในงานศพ ดันกำเนิดการแทงหยวกนั้น "ชาวมอญ” เป็นผู้ริเริ่มนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว การทำลวดลายบนหยวกกล้วยนั้นผู้ที่เป็นช่างแทงหยวกกล้วยต้องได้รับการฝึกหัด จนเกิดความชำนาญ เพราะการแกะหลักหยวกกล้วยนั้นไม่ได้การวาดลวดลายลงไปบนหยวกกล้วย แต่จะใช้การแกะสลักลวดลายจากมุมมองของช่าง

ปัจจุบันศิลปะการแทงหยวก แทบจะเลือนหายไปจากสังคมไทย หาพบเห็นได้ยากแล้วแต่ชุมชนวัดใหม่อมตรส ยังคงรักษางานศิลปะแขนงนี้ไว้ โดย "ชูชาติ แดงแนวโต” ช่างแทงหยวกที่มีชื่อเสียง ผู้ที่ได้รับการสืบทอดความรู้มาจาก รุ่นปู่ อีกทั้งฝึกหัดด้วยตนเองจนมีความชำนาญได้ประกอบอาชีพช่างแทงหยวกมานานกว่า 30 ปี และมีผลงานการแทงหยวกที่สวยงาม

ปลายรัชกาลที่ 5 ก่อเกิดบ้านช่างทอง ณ ชุมชนบวรรังษี โดยได้รับการถ่ายทอดความรู้ จากช่างฝีมือในวัง สู่แหล่งประกอบอาชีพ ตีทองคำเปลวแห่งแรก ทองคำเปลวสีสวยงาม ผ่านกระบวนการตีที่ต้องใช้พลัง สมาธิและชำนาญขั้นสุง การวางตำแหน่งค้อนให้ถูกหลัก ตีด้วยความสม่ำเสมอ น้ำหนักลงกระแทกที่ต้องเท่ากันทุก ๆ แต่ถึงอย่างนั้นมรดกทางภูมิปัญญานี้ยังคงไม่สูญไปจากชุมชนความอุตสาหะพยายามของลูกหลานบ้านช่างทอง ที่ยังคงรักษาอาชีพดั้งเดิมนี้ไว้ให้คนรุ่งหลังได้ชื่นชม


ย่ำตรอกบอกเรื่องเล่า5

ที่ถนนตะนาว ชุมชนบวรรังษี แห่งย่านบางลำพูนี้ ปัจจุบันได้สร้างเอกลักษณ์ของชุมชน ขึ้นด้วยการประดับธงพาดผ่านเป็นเส้นสายตลอดแนวถนน ทั้งธงชาติและธงสัญลักษณ์ผลัดเปลี่ยน ตามเทศกาล ผืนธงโบกสะบัด พัดปลิวพลิ้วไหว แลดูสวยงามสมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวแหวนแห่งพระนคร โดนมีแนวคิดจากการที่ย่านรอบ ๆ เริ่มผันตัวไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวยามค่ำคืน ชามชุนชมจึงปรึกษาหารือเพื่อที่จะรักษาความเงียบสงบอย่างกรุงเก่า เอาไว้และเพื่อให้พระสงฆ์ได้มีถนนสักเส้นไว้เดินบิณฑบาต จึงริเริ่มประดับธงที่ถนนตลอดสายอันเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการปลุกความรักชาติรักแผ่นดิน รวมจิตรวมใจชาวชุมชนเอาไว้ด้วยกันเป็นที่มาของอาชีพช่างทำธง ผู้ที่อยู่เบื้องหลังธงที่ปลิวไสว ไม่ว่าจะทำเป็นการเย็บธงแถบสีหรือทำเป็นลวดลาย ก็ล้วนผ่านฝืมือช่างทำธงจากชุนชนแห่งนี้ แต่เมื่อเวลาผันผ่าน แต่ยังเป็นแหล่งค้าขายธงแหล่งใหญ่ที่เรียงราย ตลอดถนนบวรนิเวศหลายร้านด้วยกัน


ย่ำตรอกบอกเรื่องเล่า6

เดินตามเสียงดนตรีไทยอันไพเราะเคล้าคลอกับบรรยากาศแบบกรุงเก่า จนมาพบกับบ้านบางลำพู หรือ บ้านดนตรีไทยดุริยประณีตในชุมชนวัดสังเวชวิศยาราม แหล่งสื่ีอสารมรดกทางวัฒธรรมด้านดนตรีไทย ให้คงอยู่เป็นสมบัติของชาติตลอดระยะเวลานานตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยปณิธานที่มั่นคงและพลังแห่งความร่วมแรงร่วมใจของผู้คนในสายสกุล สืบรุ่นสู่รุ่นตลอดมาไม่ขาดสาย มิใช่เพียงต้องเป็นผู้สืบสายเลือด หากแต่เป็นผู้ที่มีใจรัก ก็พร้อมที่จะมอบความรู้ให้อย่างไม่หวงแหนไม่ว่าจะเป็นการขับร้องเพลงไทย การเล่นเครื่องคนตรีชนิดต่าง ๆ หรือกระทั่งนาฏศิลป์รำไทยซึ่งนี้คือเสน่ห์ทำให้บ้านดนตรีไทยดุริยประณีตแห่งนี้ไม่เงียบเหงา และยังคงไว้ด้วยเสียงบรรเลง ชับกล่อมให้ชาวชุมชนได้เคลิบเคลิ้ม แม้ว่าบ้านแห่งนี้จะเคยสร้างครูดนตรีปี่พาทย์ และนักร้องผู้มีฝืมือชื่อเสียงระดับแนวหน้ามามากกว่าร้อยชีวิตแล้ว แต่ก็ยังไม่หยุดยั้งที่จะสร้างบุคลากรทางดนตรีรุ่นใหม่ ๆ ยังเดินหน้าสานสร้างตำนาน ฝากไว้ในความทรงจำของคนรุ่นหลัง และแต่งแต้มสีสันไว้ในความทรงจำของคนรุ่นหลัง และแต่งแต้มสีสันความมีชีวิตชีวาให้วงการดนตรีไทยตามยุคสมัยเรื่อยไปอย่างไม่มีสิ้นสุด


ย่ำตรอกบอกเรื่องเล่า7

เบื้องหน้าอันวิจิตรงดงามบนคนโขน เบื้องหลังร้อยโยงเชือกด้ายปักลงผ้า มรดกบนผืนผ้า ณ บ้านปักชุดละคร ชุมชนตรอกเขียนนิวาสน์-ตรอกไก่แจ้ ด้วยความรู้ที่ร่ำเรียนมาจากวังหลวงอีกทั้งเคยรับราชการในกรมศิลปากร ฝ่ายงานเครื่องอาภรณ์ "สมคิด หลาวทอง” จึงเป็นผู้ถ่ายทอดลายปักที่มีความประณีต ลวดลายโอนอ่อนน่าพิสมัย ตามลายมาตรฐานจากกรมศิลปากร เส้นด้ายสีต่าง ๆ ที่บรรจงร้อย ค่อย ๆ เกาะเกี่ยวเป็นเส้นสายอย่างใจเย็น จนกลายมาเป็นชุดโขนอันวิจิตร ช่วยส่งเสริมให้ผู้แสดงโขน ละครดูงดงามระยับจับสายตา แม้ผู้ปักจะไมได้ไปร่วมชมหรือแสดง ด้วยกว่าความภูมิใจในผืนผ้าที่บรรจงสร้างสรรค์นั้น ย่อมีอยู่อย่างแน่นอน ปัจจุบันผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้การปัก ชุดโขน ชุดละครมีน้อยลง และขาดการสานต่ออย่างต่อเนื่อง แต่ชาวชุมชนตรอกเขียนวิวาส์ ตรอกไก่แจ้ ส่วนหนึ่งยังดำรงไว้ซึ่งอาชีพเก่าแก ทรงคุณค่าอาชีพนี้ อาชีพที่แม้จะอนู่เบื้องหลังผืนผ้าอันวิจิตร แต่พลังใจที่จะส่งต่อมรดกความรู้นี้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานยังคงเต็มเปี่ยม เพราะการปักผ้ามิใช่เป็นเพียงแต่อาชีพเท่านั้น หากยังเป็นศิลปะที่ศิลปินผู้สร้างสรรค์บรรจง เย็บ ปัก ถัก ร้อย ด้วยหัวใจ



มิ่งขวัญบางลำพู


มิ่งขวัญบางลำพู

ย่านบางลำพูเป็นย่านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยวัดวาอาราม มีวัดที่สร้างขึ้นก่อนกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี 3 แห่ง ได้แก่ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดชนะสงคราม และวัดสังเวชวิศยาราม

วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหารตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศบรรจบกับถนนพระสุเมรุ เป็นวัดแห่งแรกในประเทศไทยที่มีคณะพระสงฆ์เป็นธรรมยุตินิกาย และที่สำคัญเมื่อพระมหากษัตริย์หลายพระองศ์ทรงผนวช จะมาประทับที่วัดแห่งนี้ เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทำนุบำรุงให้คงสภาพด ี อยู่เสมอ ปัจจุบันมีงานศิลปกรรมโบราณวัตภุ และศิลปวัตถุหลายสิ่งยังอยู่ในสภาพดี มีค่าควรแก่การศึกษา เช่น จิตรกรรมฝาผนัง และใบเสมา เป็นต้น


มิ่งขวัญบางลำพู2

วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร ในอดีตเป็นวัดโบราณขนาดเล็ก สร้างในสมัยอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่า "วัดกลางนา” เพราะบริเวณรอบวัดเป็นทุ่งนา ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงรวบรวมชายฉกรรจ์ ชาวมอญจากพื้นที่ต่าง ๆ เข้ามาเป็นกองกำลังทหารในการสู้รบกัยพม่า และให้ครอบครัวทหารเหล่านั้นตั้งถิ่นฐานอยู่รอบวัดกลางนา พร้อมทั้งให้ปฏิสังขรณ์วัดกลางนา เพื่อให้พระสงฆ์มอญจำพรรษา โดยลอกเลียนนามวัดและขนบธรรมเนียม จาก”วัดตองปุ” ซึ่งเป็นวัดที่พระสงฆ์มอญพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาและลพบุรี เมื่อบ้านเมืองสงบสุขร้างศึกกับพม่าแล้ว ได้แก่ พระอุโบสถ กุฎิสงฆ์ พร้อมทั้ง ถาวรวัตถุอื่น ๆ เมื่อสำเร็จแล้ว จึงน้อมเกล้า ฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดชนะสงความ ราชวรมหาวิหาร”



วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร เดิมเรียกว่า วัดสามจีน หรือ วัดบางลำพู ตั้งอยู่ริมคลองบางลำพูในแขวงบางลำพู เขตพระนคร ปัจจุบันมีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงเทพ เป็นราชธานีและสถาปนาพระอนุกรม คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมเพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ขึ้นเป็นวังหน้า พระองค์ได้รับเอาวัดบางลำพูไว้ใรพระอุปถัมภ์ เพื่อพระราชทานให้เป็นสถานที่อยู่แก่นักชี ซึ่งเป็นมารดาของนักองอี (ยาย) ในพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากำพุชฉัตร ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ปฏิสังขรณ์สัดและในสมัยพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสังเวชวิศยาราม”

ต่อมาได้มีการสร้างวัดในย่านชุมชนบางลำพูเพิ่มขึ้นซึ่ง ได้แก่ วัดสามพระยา วัดตรีเทพ วัดเอี่ยมวนนุช และวัดใหม่อมตรส เป็นต้น


มิ่งขวัญบางลำพู3

เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2543 ชาวบางลำพูได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ที่ทรงประทานพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ บรรจุพระบรมสาริกธาตุภายในองค์พระตรงพระอุระเบื้องซ้าย และประทานนามให้ว่า "พระพุทธบางลำพูประชานาถ” มีความหมายว่า "ที่พึ่งของชาวบางลำพู”

ในงานสงกรานต์ทุก ๆ ปีบางลำพูจะมีขบวนแห่อย่างยิ่งใหณ่โดยอัญเชิญพระพุทธบางลำพูประชานาถจากจัดบวรนิเวศหารมายังสวนสันติชัยปราการ เป็นโอกาสเดียวเท่านั้นในหนึ่งปีที่ประชาชนจะมีโอกาศสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล และในวาระที่กรมธนารักษ์ ได้ดำเนินการพัฒนาที่ดินราชพัสดุแปลงโรงพิมพ์คุรุสภาเพื่อสร้างประโยชน์ชุนชนและสังคม โดยจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดชุมชน ชาวบางลำพูจึงได้อันเชิญพระพุทธบางลำพูประชาชนนาถมาประดิษฐานอย่างถาวรที่ "พิพิธบางลำพู” เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ชาวบางลำพู



ถอดรหัสลับขุมทรัพย์บางลำพู


ถอดรหัสลับขุมทรัพย์บางลำพู

จากสำนึกของกลุ่มคนในชุมชนที่ต้องการรักษาวัฒนธรรมที่กำลังจะสูญหาย เป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม มุ่งพัฒนาท้องถิ่นของตนในเชิงสร้างสรรค์ในนาม "ประชาคมบางลำพู” เน้นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมคั้งเดิมอันดีงานของชุมชนเอาไว้ และได้กำลังเสริมจากเยาวชนคนรุ่งใหม่ หรือ "ชมรมเกสรลำพู” ที่ร่วมพัฒนาย่านบางลำพูให้เป็นย่างที่น่าอยู่และกลับมาผลิแย้ม บานสะพรั่งอย่างงดงามอีกครั้ง

ประชาคมบางลำพู และกลุ่มชมรมเกสรลำพู มีส่วนร่วมในการผลักดันการร่วมอนุรักษ์สถานที่ทางประวัติศาสตร์จนให้เกิด "พิพิธบางลำพู” อีกทั้งได้ให้ข้อมูลต่าง ๆที่เป็นประโยชน์ในการสร้างพิพิธบางลำพูอีกด้วย และจากการศึกษารากเหง้าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเองอย่าง ลึกซึ้งก่อเกิดการขยับขยายเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ตามมา ประชมคมบางลำพูและชมรมเกสรลำพูในวันนี้ ยังคงยืนหยัดดูแล "บ้าน” อันเป็นที่รักและหวงแหน ด้วยหวังว่าจะปกป้องรักษามรดกทางวัฒธรรมที่ทรงคุณค่าของชุมชนและชาติสืบต่อไป


ถอดรหัสลับขุมทรัพย์บางลำพู2

ปัจจุบันบางลำพูยังคงเป็นย่านการค้าที่คึกคัก ป้ายไฟหลากสีส่องสว่างระยิบระยับไปทั่ว มีของซื้อของขายสารพัดสารพัน ทั้งเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้เครื่องประดับ อาหารการกินนานาชนิด และศูนย์รวมนักท่องเที่ยวที่นิยมของดีราคาประหยัดในบริเวณถนนข้าวสาร เพราะที่นี่เป็นแหล่งเกสต์เฮาท์หรือที่พักราคาถูก มีบริการด้านการท่องเที่ยวครบครัน สร้างความสว่างไสวให้ย่านนี้ไม่ขาดสาย

แม้กาลเวลาอาจทำให้หลายสิ่งเปลี่ยนแปลง แต่ไม่อาจลบเลือนร่องลอยความรุ่งโรจน์ในอดีตไปได้ และยังคงเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดผู้คนทั่วสารทิศให้มาเที่ยวชมอีกมิติหนึ่งของบางลำพู เพื่อซึมซับชุมชนประวัติศาสตร์ที่คงความมีชีวิตชีวาแห่งนี้


ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง line
ป้อมเขตขัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
23/7/2561 / 2190
ป้อมเขตขัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ป้อมเขตขัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ป้อ..
นิทรรศการกรมธนารักษ์
22/7/2561 / 1209
กรมธนารักษ์ มีหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของแผ่นดิน ถือกำเนิดอย่างเ..
แรกมีสิ่งพิมพ์ในสยาม
10/5/2561 / 723
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการเปิดเป็นโรงเรียนช่างพิมพ์วัดส..